โดยปกติ ค่าของความดันโลหิตของคนเรามี 2 ตัว คือ ตัวบนและตัวล่าง กล่าวคือ ค่าความดันปกติตัวบนประมาณ 120-130 ความดันตัวล่างประมาณ 70-80  แต่เมื่อใดก็ตามที่แรงดันในหลอดเลือดแดงมีค่าสูงเกิน 140 / 90 มิลลิเมตรปรอท นั่นหมายความว่า คุณเริ่มมีภาวะ “ความดันโลหิตสูง” มีคนจำนวนมากอยู่กับโรคความดันโลหิตสูงโดยที่ไม่ทราบว่าตนเองมีภาวะนี้ เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่ค่อยปรากฏอาการที่ชัดเจน แต่เมื่อปล่อยนานไปแรงดันเลือดจะไปทำลายผนังหลอดเลือดและอวัยวะที่สำคัญทั่วร่างกาย  เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมามากมาย

ผลกระทบต่อสุขภาพของผู้มีภาวะความดันโลหิตสูง

ส่วนใหญ่ภาวะความดันโลหิตสูงจะไม่ปรากฏอาการ  จนกระทั่งระบบหลอดเลือด และอวัยวะที่สำคัญของร่างกายได้ถูกทำลายไปแล้ว เช่น หัวใจห้องล่างซ้ายโต จนกระทั่งหัวใจวาย, หลอดเลือดแดงฝอยที่ไปเลี้ยงลูกตามีการตีบทั่วไปทำให้ตาพร่ามัวถึงขั้นบอด  หรือเกิดภาวะสมองขาดเลือด เป็นอัมพาตแขน แขนขาไม่มีแรง เป็นต้น  และในผู้ที่มีระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูง เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต หรือเคยมีภาวะสมองขาดเลือด  จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงและมีความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนของภาวะความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้นกว่าคนที่ไม่เป็นโรคเหล่านี้

ผลแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงต่ออวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย

  สมอง อาจทำให้เส้นโลหิตในสมองตีบหรือแตกได้ ทำให้เป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หัวใจ อาจทำให้เกิดหลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดอาการเจ็บหน้าอกและกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือหากหลอดเลือดที่หัวใจอุดตัน เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอทำให้หัวใจวายได้ ไต ไตมีหน้าที่สร้างฮอร์โมนตัวหนึ่งที่กระตุ้นไขกระดูกในการสร้างเม็ดเลือดแดง หากไตเสื่อมก็ทำให้การสร้างฮอร์โมนลดลง ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูงมานาน ก็จะทำให้หลอดเลือดเสื่อมทั่วร่างกาย ทำให้คนไข้ซีด ขาบวม เหนื่อยง่าย และอาจเกิดภาวะไตวายได้ ตา ตาจะมัว สำหรับความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์จะมีอันตรายทั้งเด็กและแม่ อาจทำให้คลอดก่อน           ปัจจุบันคนไทยเป็นโรคความดันโลหิตสูงประมาณ 11 ล้านคน  เสียชีวิตปีละไม่ต่ำกว่า 3,000 ราย และพบว่ามีอัตราผู้ป่วยที่ต้องเข้านอนรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ที่สำคัญยังพบว่า มีผู้ชายร้อยละ 60 และผู้หญิงร้อยละ 40 ที่ไม่รู้ตัวว่าตัวเองมีภาวะความดันโลหิตสูง  ขณะที่ผู้ป่วยที่รู้ว่าตนเองเป็นโรคนี้แล้วราวร้อยละ 8 – 9 กลับไม่ยอมรักษา ส่งผลให้อาการทวีความรุนแรงมากขึ้นไปอีก                     จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก คาดการณ์ว่าในปี 2568 หรืออีก 7 ปี ข้างหน้า ประชากรวัยผู้ใหญ่ทั่วโลกจะป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากถึง 1.56 พันล้านคน จะเห็นได้ว่าโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคใกล้ตัวที่เราจะมองข้ามไม่ได้  แม้จะไม่ได้แสดงอาการออกมาให้เห็นชัดเจน แต่ผลข้างเคียงนั้นน่ากลัว และอันตรายมาก  วันนี้เราจึงมาแนะนำสมุนไพรตัวหนึ่ง ที่ขึ้นชื่อเรื่องการปรับสมดุลความดันโลหิตมาอย่างยาวนาน นั่นก็คือ “ถั่งเช่า”   ในถั่งเช่ามีสารคอร์ไดเซปิน มีสรรพคุณในการลดความข้นและเหนียวของเลือด เพิ่มออกซิเจนในกระแสเลือด ลดคอเลสเตอรอล ลดไตรกลีเซอไรด์ในเลือด และขยายหลอดเลือดหัวใจเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ด้วยสรรพคุณดังกล่าว ถั่งเช่าจึงช่วยลดความดันโลหิตได้เป็นอย่างดี โดยมีการตีพิมพ์ผลงานวิจัยเรื่องนี้ลงในวรสาร Alternative and Complementary Medicine ว่าสารที่พบในถั่งเช่านั้นสามารถควบคุมและลดความดันโลหิตได้ และช่วยในผู้ที่เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติอีกด้วย รวมถึงในบทความของมหาวิทยาลัยมหิดล ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ ยังระบุอีกว่าถั่งเช่านั้นสามารถลดความดันโลหิตในผู้ป่วยไตวายได้ เพียงทานถั่งเช่า 3-5 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 1 เดือนเท่านั้น   นอกจากถั่งเช่าจะช่วยลดความดันโลหิตได้แล้ว ยังมีการศึกษาวิจัยกันอย่างกว้างขวาง ถึงการนำมาใช้และสรรพคุณทางด้านต่างๆ มีการยอมรับกับว่าสามารถใช้ บำรุงร่างกาย และเสริมสุขภาพได้อย่างดียิ่ง แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษคือ ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่เป็นสารสกัดจากสมุนไพร ผ่านการตรวจสอบและรับรองความปลอดภัยจากองค์การอาหารและยา หรือ อย. ด้วยนะคะเพื่อความปลอดภัยในการบริโภคนั่นเองค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *